เมนู

20. วิปปยุตตปัจจัย


[333] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจ
ของวิปปยุตตปัจจัย.
2. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้ง
หลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
3. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้ง
หลายที่เป็นอุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้
ที่เป็นอุปาทาธรรม ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทา-
ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้ง
หลายที่เป็นอุปาทาธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรม ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่

ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทาธรรมเป็นปัจจัยแก่กาย ที่เป็นอุปาทา-
ธรรม และไม่ใช่อุปาทาธรรมนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[334] 1. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปาทาธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อาหาระ และ อินทริยะ ได้แก่
กวฬีการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายที่เป็นอุปาทาธรรมนี้ ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย.
รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลายที่เป็นอุปาทาธรรม
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
2. อุปาทาธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 4 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ อาหาระ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อุปาทา-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
ฯลฯ เหมือนกับปุเรชาตะ ไม่มีแตกต่างกัน.